บันทึกควาทรงจำไปกับเรา

..คลิกที่รูป...บริการถ่ายภาพสุดประทับใจ prewedding รับปริญญา พิธีการต่าง แฟชั่น อีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เผยมูลค่าตลาดไอซีทีสวนกระแก โต 5.6 แสนล้าน

Pic_65614
ซิป้า จับมือเนคเทค โชว์ตัวเลขอุตฯไอซีทีไทย ปี52 มูลค่า 555,501 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% ชูแอพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ และบริการด้านคอมพิวเตอร์มาแรง...

นาวาตรีวุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีทีของประเทศนั้น จำเป็นต้องมีการสำรวจตลาดอุตสาหกรรมเป็นประจำทุกปี เพื่อนำข้อมูลมากำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมไอซีทีของประเทศในแต่ละปี ทั้งนี้ ซิป้า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที โดยให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค ดำเนินการสำรวจตลาดอุตสาหกรรมไอซีที ในประเทศไทยประจำปี 2552 และประมาณการปี 2553 (ICT Market & Outlook 2009)

รักษาการ ผอ.ซิป้า กล่าวต่อว่า ผลที่ได้จากการสำรวจภาพรวมอุตสาหกรรมไอซีทีไทยปี 2552 ที่ผ่านมา โดยรวมเท่ากับ 555,501 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2551 เป็น 6% ส่วนใหญ่เป็นตลาดสื่อสาร 361,895 ล้านบาท รองลงมา คือ ตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ตลาดคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ และตลาดด้านการบริการคอมพิวเตอร์ ตามลำดับ โดยคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมไทยยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราการขยายตัวอาจลดลงเล็กน้อยจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้น

ภาพรวมการพัฒนาด้านไอซีทีของประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้ชัดเจนว่าในแต่ละปีประชาชนคนไทยใช้ไอซีทีเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์นั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานทั้งใน และต่างประเทศ นอกจากนี้ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่ส่งเสริมอยู่ มีมูลค่าจากการสำรวจในปี 2552 เท่ากับ 64,365 ล้านบาท เติบโตจากเดิม 2.3% และคาดว่ามูลค่าการเติบโตปี 2553 เป็น 67,884 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการเติบโตจากเดิม 5.5% ถ้ามองการเติบโตของปี 2553 เติบโตขึ้นเล็กน้อย และเป็นโอกาสที่ดีของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เนื่องจากบริษัทหรือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จะต้องบริหารจัดการองค์กรในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ โดยการใช้ซอฟต์แวร์เข้ามาบริหารงานมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และสิ่งที่ตามมาคืองานด้านบริการเป็นจุดเด่นของผู้ประกอบการไทยอยู่แล้ว จากนั้นจะนำผลการสำรวจมาเผยแพร่ในรูปแบบเว็บแอพลิเคชั่น ภายใต้โครงการระบบศูนย์บริการข้อมูลอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (NSIIM : National Software Industry Information Mining) หรือสืบค้นข้อมูลได้ที่ http://nsiim.sipa.or.th โดยกลยุทธ์นั้นจะเพิ่มมูลค่าได้ถึง 101,000 ล้านบาท

รักษาการ ผอ.ซิป้า กล่าวด้วยว่า ปัญหาขณะนี้ คือ ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ที่ยังไม่ได้จำแนกว่าเป็นคนไทยเท่าไร ซิป้าพยายามนำซอฟต์แวร์ไปขายต่างประเทศ แต่กลับนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ตลาดสื่อสารโทรคมนาคมไทยที่ไทยไม่ได้ผลิต แต่ปริมาณมือถือของผู้ใช้มากกว่าคนในประเทศ เป็นต้น อีกทั้งควรให้ความรู้กับประชาชน เพื่อรู้เท่าทันไอที และศึกษาข้อมูลอย่างแท้จริง เพื่อลดปัญหาดังกล่าว

ด้านนางชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการเนคเทค กล่าวว่า มาตลอด 5 ปีว่า การจัดทำข้อมูลตลาดไอซีทีมีความจำเป็น และสำคัญสำหรับประเทศ และจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากสมาคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) สมาคมผู้ส่งออกซอฟต์แวร์ไทย (TSEP) สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย(ATCA) สมาคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA) สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมแห่งชาติ (TRIDI) อย่างไรก็ตาม การสำรวจชิ้นนี้เป็นการให้ข้อมูลในภาพกว้าง เพื่อแสดงสถานภาพรวมๆ ของการใช้จ่ายด้าน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การบริการด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร ของประเทศเท่านั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ เนคเทค ยังมีแผนจัดทำข้อมูลด้านไอซีทีของประเทศไทยในเชิงลึก 3 ประเภท คือ 1. รายงานการเปรียบเทียบตลาดไอซีทีไทยและต่างประเทศ 2. การจ้างงานอุตสาหกรรมไอทีไทย 3. รายงานสถานภาพอุตสาหกรรมไอทีของประเทศไทย โดยจะทยอยออกมากลางปี 2553

นายจำรัส สว่างสมุทร ที่ปรึกษาโครงการสำรวจไอซีที กล่าวว่า แม้ภาพรวมตลาดไอซีทีประเทศไทยปี 2552 ที่ผ่านมา จะขยายตัวไม่สูงมากนัก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในระยะฟื้นตัว แต่โดยรวมยังถือว่าไม่ตกต่ำมาก การที่ตลาดซอฟต์แวร์ดูเหมือนจะเติบโตเพียง 2.3% นั้น เป็นเพราะเกิดจากการที่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์บางรายเริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบการขาย เป็นการให้บริการด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น มูลค่าบางส่วนจึงไปตกอยู่ในกลุ่มการบริการด้านคอมพิวเตอร์ หากรวมซอฟต์แวร์ที่อยู่ในรูปบริการแล้วตลาดซอฟต์แวร์ปี 2552 จะเติบโตถึง 6.7%

ที่ปรึกษาโครงการสำรวจไอซีที กล่าวต่อว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับกระแสโลก นับวันธุรกิจด้านการบริการจะมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น สำหรับปี 2553 ตลาดภาพรวมดีขึ้นเป็น 7.2% หากการดำเนินการที่เกี่ยวกับบอร์ดแบรนด์ชัดเจนมากขึ้น อาทิ 3G หรือ FTTX เชื่อว่าตลาดยังเติบโตได้มากกว่านี้มาก เนื่องจากจะมีแอพลิเคชั่นต่างๆ สำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ ถูกพัฒนาขึ้นให้ใช้งานกับบรอดแบนด์ประสิทธิภาพสูง และพบว่ายังมีรูปแบบการบริการใหม่ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้อีกมาก.


ข่าวจาก : ไทยรัฐ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น